ชื่อไทย : บุนนาค
ชื่อท้องถิ่น : สารภีดอย(เชียงใหม่) 
ชื่อสามัญ : Ironwood
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Mesua ferrea L.
ชื่อวงศ์ : CLUSIACEAE
ลักษณะวิสัย : ไม้ยืนต้น
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :
ลำต้น :
ไม้ต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ สูง 15-25 เมตร ไม่ผลัดใบ เรือนยอดรูปเจดีย์ต่ำ เป็นพุ่มทึบ ลำต้นเปลาตรง เปลือกเรียบสีน้ำตาลปนเทา
ใบ :
เดี่ยว เรียงตรงกันข้าม ใบรูปใบหอกหรือรูปขอบขนานแกมรูปใบหอก กว้าง 2-3 ซม. ยาว 8-12 ซม. ปลายใบยาวคล้ายหาง โคนใบสอบ ผิวใบเรียบเกลี้ยง สีเขียวเข้ม ด้านล่างมีคราบขาวนวล ใบอ่อนสีชมพู แผ่นใบหนา ขอบใบเรียบ เส้นแขนงใบถี่และจางมองเห็นไม่ชัดเจน ก้านใบ ยาว 0.5-1 ซม.
ดอก :
ออกเป็นดอกเดี่ยวหรือเป็นช่อแบบช่อกระจุกตามซอกใบ สีขาวหรือเหลืออ่อน กลีบเลี้ยง 4 กลีบ เรียงเป็น 2 ชั้น กลีบดอกรูปไข่กลับเกสรเพศผู้จำนวนมากสีเหลืองจำนวนมากสีเหลือง ดอกบานเต็มที่กว้าง 4-4.5 ซม. กลิ่นหอมมาก ส่งกลิ่นหอมตลอดทั้งวัน
ผล :
ผล แบบผลมีเนื้อหลายเมล็ด รูปไข่ กว้าง 2-2.5 ซม. ยาว 3.5-4 ซม. ปลายแหลมโค้ง กลีบเลี้ยงขยายโตเป็นกาบหุ้มผล 4 กาบ เปลือกแข็ง เมล็ด รูปไข่สีน้ำตาลมี 1-2 เมล็ด
ระยะติดดอก - ผล :
เริ่มติดดอก : มีนาคม สิ้นสุดระยะติดดอก : กรกฎาคม
เริ่มติดผล : เมษายน สิ้นสุดระยะติดผล : สิงหาคม

สภาพทางนิเวศวิทยา :

                นิเวศวิทยา ป่าดิบชื้นภาคเหนือและภาคใต้

ถิ่นกำเนิด

การกระจายพันธุ์

การใช้งานด้านภูมิทัศน์ เหมาะกับการปลูกประดับเพราะดอกหอมและใบอ่อนสีสวย ควรปลูกบริเวณที่ได้รับแสงเช้า

การปลูกและการขยายพันธุ์ :

สภาพดินร่วนปนทราย และดินร่วนที่มีความชุ่มชื้น

โดยการเพาะเมล็ด

รายละเอียดการใช้ประโยชน์ :

- ดอก มีรสหอมเย็นขมเล็กน้อย แก้ลมกองละเอียด วิงเวียน หน้ามืดตาลาย ใจสั่น ชูกำลัง บำรุงโลหิต บำรุงหัวใจให้แช่มชื่น แก้ร้อนใน กระสับกระส่าย แก้กลิ่นสาบในร่างกาย

- เกสร มีรสหอมเย็น เข้ายาหอม มีฤทธิ์ฝาดสมาน บำรุงธาตุ ขับลม บำรุงครรภ์รักษา ทำหัวใจให้ชุ่มชื่น แก้ไข้

- แก่น มีรสเฝื่อน แก้เลือดออกตามไรฟัน [1]

- เนื้อไม้ทำเครื่องเรือน หรือเครื่องใช้ต่างๆ

- ดอก เข้ายาบำรุงเลือด แก้ร้อนใน

- เมล็ดบีบน้ำมันมาทารักษาอาการปวดตามข้อ รักษาโรคผิวหนัง [2]

- ดอกแห้งบำรุงธาตุ บำรุงโลหิต และหัวใจ แก้ร้อนใน แก้กลิ่นสาบในร่างกาย เกสรแก้ไข้

- ใบสมานแผลสด แก้พิษงู [3]

แหล่งอ้างอิง : [1] คณะกรรมการวิชาการดำเนินงานส่วนสวนสมุนไพรพืชสวนโลก. 2549. สวนสมุนไพรในงานมหกรรมพืชสวนโลก 2549. Herbal Garden in Royal Flora Expo 2006. บริษัท สามเจริญพาณิชย์(กรุงเทพฯ) จำกัด. กรุงเทพมหานคร. [2] คณะผู้ดำเนินงานโครงการให้ความรู้ด้านพฤกษศาสตร์แก่บุคลากรและนักศึกษามหาวิทยาลัยเชียงใหม่. 2553ภายใต้โครงการพัฒนาศักยภาพสู่ความเป็นมหาวิทยาลัยสร้างเสริมสุขภาพมหาวิทยาลัยเชียงใหม่. [3] เอื้อมพร วีสมหมาย และปณิธาน แก้วดวงเทียน. 2552. ไม้ป่ายืนต้นของไทย 1. พิมพ์ครั้งที่ 2. เอช เอ็น กรุ๊ป จำกัด. กรุงเทพมหานคร. [4] ต้นไม้และดอกไม้ประจำจังหวัด http://www.panmai.com/ 23082553
ประเภทของการใช้ประโยชน์ :
ไม้ยืนต้น
พืชสมุนไพร
ที่อยู่ :
หมายเหตุ : ต้นไม้ประจำจังหวัดพิจิตร
รูปพรรณไม้ :
   
Copyright © 2011 Royalpark Rajapruek All rights reserved.
ต.แม่เหียะ อ.เมือง จ.เชียงใหม่ 50100
โทร 053-114110-5 แฟกซ์ 053-114196 E-Mail : [email protected]
เริ่มใช้งานระบบเมื่อ 1 มิถุนายน 2554